ไขรหัส...ทำไมคนเราถึงปลื้มของทอดได้ง่ายกว่าอาหารประเภทอื่น
ไก่ทอด หมูทอด กุ้งชุบแป้งทอด...สารพัดเมนูทอดที่กำลังอยู่ในจินตนาการของพวกเราตอนนี้ เคยสงสัยหรือไม่ว่าเพราะอะไรเราถึงรู้สึกมีความสุข สนุกสนานทุกครั้งเมื่อได้รับประทาน หากยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายสุด และเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าคนเราชอบอาหารทอดนั่นคงเป็นเด็ก ๆ นั่นเอง เราเชื่อว่าหลายบ้านที่เคยมีปัญหาลูกหลานไม่ชอบผัก แต่กลับแก้ได้ง่ายดายด้วยการนำผักไปชุบแป้งทอด ผลลัพธ์นี้บ่งชี้ได้ถึงความเกี่ยวเนื่องของอารมณ์พื้นฐานของคนเราที่มีอิทธิพลต่อการเลือกบริโภคได้อย่างดี
แท้จริงแล้วอารมณ์ของเราถูกควบคุมโดยสมอง
Elizabeth Somer, MA, RD ผู้เขียนหนังสือ Food & Mood และ Eat Your Way to Happiness ได้ยืนยันความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับอาหารการกินว่า “สิ่งที่เรานำเข้าสู่ร่างกายของเรา ล้วนมีผลกระทบเชิงลึกแบบองค์รวมต่ออารมณ์ของเรา” แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างอารมณ์และอาหาร
ในหนังสือ Hungry Brain โดย Dr. Laura Pawlak ชี้ให้เห็นว่า สมองของเรามุ่งเน้นการสั่งการของทุกพฤติกรรมไปที่การเอาชีวิตรอด กล่าวได้ว่า “อาหาร” คือ 1 ใน 4 ของปัจจัยสำคัญแห่งการดำรงชีวิต ดังนั้นพฤติกรรมการเลือกบริโภคของมนุษย์ จึงมุ่งไปที่แหล่งอาหารซึ่งเป็นพลังงานหลัก ได้แก่ น้ำตาล โปรตีน และไขมัน ยิ่งกว่านั้นร่างกายของเราดูดซึมอาหารที่มีไขมัน ในอัตราที่ช้ากว่าโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรต ไขมันทำให้เรารู้สึกอิ่ม เมื่อสมองรู้สึกอิ่มก็สามารถกระตุ้นสารสื่อประสาทแห่งความสุข หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า “เอ็นดอร์ฟิน” ทำให้ทุกครั้งที่เรารับประทานเข้าไป จะรู้สึกเหมือนเป็นรางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการคลายเครียดเลยทีเดียว
จากเหตุผลในเชิงวิทยาศาสตร์ตามที่กล่าวในข้างต้น เราจึงสามารถเข้าใจถึงอิทธิพลของอาหารทอด ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่มีไขมันได้ด้วย นอกจากหลักชีวเคมีในร่างกายแล้ว ลักษณะของอาหารทอดเองก็สร้างเสน่ห์ดึงดูดต่อผู้บริโภคไม่ต่างกัน สิ่งที่ทำให้อาหารทอดแตกต่างจากกรรมวิธีการทำอาหารประเภทอื่น ๆ นั้น มาจากทั้ง “กลิ่น” ที่โดดเด่น เมื่อวัตถุดิบถูกทอดในน้ำมันจะให้กลิ่นเฉพาะ ให้ความรู้สึกถึงของสุกชัดเจน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมเราถึงน้ำลายสอเมื่อเห็นเบค่อนทอดกรอบ ๆ ควันฉุย ในขณะที่ “รสสัมผัส” ของอาหารทอดก็มีเอกลักษณ์ไม่แพ้กัน ความรู้สึกกรุบกรอบเมื่อกัดเคี้ยวนั้น ไม่สามารถหาได้จากการปรุงอาหารแบบอื่น ทำให้คนเรารู้สึกสนุก เพลิดเพลิน อีกทั้งทุกครั้งที่เราเคี้ยววัตถุดิบซึ่งถูกทอดกรอบมา น้ำมันในวัตถุดิบนั้นจะกระจายในปาก ทำให้เครื่องปรุงต่าง ๆ กระจายตัวได้ดีขึ้นด้วย
สมองของเราต้องการไขมัน
สมองของเราประกอบด้วยไขมันประมาณ 60% และจำเป็นต้องได้รับอาหารตามนั้น ไขมันมีความสำคัญต่อความสามารถในการทำงานของสมอง ดังนั้นการเลือกบริโภคอย่างชาญฉลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกายและมีความสุขร่วมกันไปด้วยเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะไขมันไม่ใช่สิ่งที่เลวร้ายเสมอไป เราสามารถเลือกบริโภคไขมันที่ดี นอกจากนั้นกรรมวิธีที่ใช้น้ำมันในการทอดอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญซึ่งไม่ควรมองข้าม เช่น การใช้น้ำมันทอดซ้ำ แม้จะเป็นวิธีการใช้น้ำมันที่คุ้มค่า แต่ไม่ควรใช้ซ้ำเกิน 2 - 3 ครั้ง เนื่องจากทุกครั้งคุณประโยชน์ต่าง ๆ ก็จะลดหลั่นลงไป หรือการใช้ตัวเลือกที่ดีอย่างน้ำมันปาล์มธรรมชาติที่ปลอดไขมันทรานส์ เพื่อเป็นขุมพลังงานของร่างกาย เสกสรรเมนูอาหารทอดเพื่อสุขภาพที่สามารถรับประทานได้ทุกเพศทุกวัย
กล่าวได้ว่า “ไขมัน” คือส่วนสำคัญของอาหารทอดจริง ๆ ค่ะ ในยุคนี้มีสินค้ามากมายในท้องตลาดสำหรับปรุงเมนูอาหารทอด ดังนั้นเราก็ควรใส่ใจในการเลือกสรรสิ่งดี ๆ มีคุณภาพกันนะคะ อย่างน้ำมันพืชตราผึ้ง เป็นน้ำมันปาล์มธรรมชาติ ที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย อีกทั้งสามารถทอดวัตถุดิบทุกอย่างได้กรุบกรอบ อร่อย สร้างความพึงพอใจทั้งร่างกายและตอบโจทย์สุขภาพที่ดีได้อย่างแน่นอนค่ะ
น้ำมันพืชตราผึ้ง ปลอดไขมันทรานส์
“ผึ้ง” กรอบอร่อยได้คุณค่า แบรนด์ของคนรุ่นใหม่
Cooking By Bee
ข้อมูลจาก Earthsky, First We Feast
กลุ่มปาล์มธรรมชาติ
ผู้บุกเบิกสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับตลาดน้ำมันปาล์มของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ที่มุ่งมั่นยกระดับตลาดน้ำมันปาล์มในประเทศด้วยการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิต โดยคำนึงถึงการรักษาสมดุลธรรมชาติให้กับโลก ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดและคงคุณค่าทางโภชนาการจากธรรมชาติสูงสุดให้กับลูกค้าทั้งกลุ่มธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป
HEALTH
- เรื่องต้องรู้…คาร์โบไฮเดรตชนิดดีและไม่ดี
- อาหารสุขภาพผิว
- อาหารแนวย้อนยุคแบบผึ้ง
- กินอาหารก่อนออกกำลังกาย ดีหรือไม่
- อาหารช่วยผิวขาว กระจ่างใส มีสุขภาพดี
- อาหารต้านฝนที่คนภูมิต้านทานต่ำ ควรทาน
- 6 อาหารต้านหวัด ช่วงหน้าฝน
- 10 กิจกรรมแก้เบื่อช่วงโควิด
- งานอดิเรกสำหรับหน้าฝน ที่ทุกคนทำได้
- วิธีดูแลสุขภาพ เตรียมเข้าหน้าฝน
- ถ้าโควิดจบแล้ว เราจะทำอะไรดี
- 3 สร้าง 2 ใช้ ดูแลสุขภาพจิตช่วงโควิด-19
- Covid-19 ไม่ทนความร้อน! WHO แนะนำกินอาหารปรุงสุกลดความเสี่ยง
- ผ่านวิกฤตโควิด ด้วยกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว
- อยู่บ้านสู้โควิด ควรทำอะไรบ้าง
- ภาวะโลกร้อนกับอาหารที่กิน
- ออกกำลังกายอยู่บ้านง่าย ๆ ไม่ต้องเข้าฟิตเนส
- Keto diet เทรนด์อาหารลดคาร์บเพื่อลดหุ่น
- การล้างมือให้ถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงติดไวรัสโคโรนา
- โซนการเต้นของหัวใจ กับการออกกำลังกาย
- อาการที่บอกว่า ออกกำลังกายไม่ได้ผล
- รู้แบบนี้แล้ว ออกกำลังกายดีกว่า
- อาหารต้านโรคช่วงหน้าฝน
- มุมมองโรคฮิตหน้าฝน จากแพทย์แผนไทย
- เมนูอาหารหน้าฝน คนภูมิต้านทานต่ำควรทาน
- ความแตกต่างระหว่างคาร์โบไฮเดรต ชนิดดีและไม่ดี
- ไดเอทอย่างไร เรียก “คาร์บต่ำ ไขมันสูง”
- เร่งเมตาบอลิซึมในร่างกาย… แบบง่าย ๆ
- สมุนไพร…ต้านอนุมูลอิสระ
- เทรนด์อาหาร 2019 สายกินต้องตามให้ทัน
- สุดยอดสมุนไพรจีน ที่ควรหามาทาน
- เคล็ดลับแพทย์แผนไทยโบราณ กินตามธาตุเพื่อร่างกายแข็งแรง
- วิธีเลือกซื้ออาหารริมถนนให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนฝุ่นพิษ
- เพราะอะไรน้ำมันปาล์มจึงเหมาะกับอาหารทอด ส่งต่อสุขภาพดีคู่ครัวยาวนานกว่า 12 ปี กับน้ำมันพืชตราผึ้ง
- ไขรหัส…ทำไมคนเราถึงปลื้มของทอดได้ง่ายกว่าอาหารประเภทอื่น
- คืนคริสมาสต์ แต่ละประเทศเขาทำอาหารอะไรกันบ้างนะ
- 5 สไตล์การจัดเลี้ยง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับปาร์ตี้
- 4 เทคนิค รีโนเวทห้องครัว แบบง่าย ๆ สบายกระเป๋า
- 7 เทรนด์อาหารมาแรงแห่งปี 2018
- ปาล์มน้ำมันประโยชน์ที่มากกว่าการผลิตน้ำมัน
- สารพัดพร็อพเก๋ ๆ จากใบปาล์ม
- มิถุนายนนี้ อย. ห้ามใช้ไขมันทรานส์
- “กรดไลโนเลอิก” กรดไขมันที่ดีต่อใจ
- “น้ำมันปาล์ม” ไม่มีคอเลสเตอรอลนะจ๊ะ
- ในน้ำมันปาล์มมีอะไรบ้าง
- “น้ำมันปาล์ม” เกิดสารโพล่าร์น้อยสุด
- “น้ำมันปาล์ม” ปลอดไขมันทรานส์
- วิธีเลือกซื้อ เลือกใช้ “น้ำมันพืช” อย่างถูกต้อง
- “น้ำมันปาล์ม” ทางเลือกเพื่อสุขภาพ
- เบาหวาน…จัดการได้
- เรื่องง่าย ๆ เรื่องของเมนูไข่
- ไอเดียเจ๋ง!! ข้าวมันไก่ลดโลกร้อนห่อใบตองแทนกล่องโฟม
- ไขน้ำมันปาล์มเป็น ไม่เป็นอันตราย
- มองแบบวิทย์ พลิกชีวิตการกินอยู่
- 10 ปลาไทยราคาบ้าน ๆ โอเมก้า 3 สูงไม่แพ้แซลมอน
- สารโพลาร์คืออะไร? ทำไมคนรักสุขภาพถึงต้องระวัง
- น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการ หรือ Processed vegetable oil คือ
- น้ำมันปาล์มไม่มีคอเลสเตอรอล …เรื่องจริงที่ต้องรู้ไว้
- ไขมันทรานส์…ภัยร้ายซ่อนรูป
- ทำไมต้องน้ำมันปาล์มตรา “ผึ้ง”