สุดยอดสมุนไพรจีน ที่ควรหามาทาน
ยุคนี้หลาย ๆ คนหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพกันเยอะ จริง ๆ แล้วทีมงานผึ้งก็ให้ความสำคัญกับเรื่องของสุขภาพเช่นกัน อาหารหรือสิ่งที่ทานเป็นอีกเรื่องที่สำคัญ ถึงกับมีการเปรียบว่า “เราทานอย่างไร ร่างกายก็เป็นอย่างนั้น” วันนี้ผึ้งจะมาแนะนำเพิ่มเติมเรื่องของ “สมุนไพร” กันนะค่ะ เป็นสมุนไพรจีน ที่เพื่อน ๆ มีโอกาสลองหามาทานกันค่ะ
สมุนไพรจีนอยู่ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนมายาวนานกว่า 3,000 ปี โดยหัวใจของศาสตร์ทางด้านนี้คือ “จงทำให้ทุกมื้ออาหารช่วยปรับสมดุลร่างกาย ให้ทำงานได้ตามปกติ โดยพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายของผู้กินกับฤดูกาลประกอบกัน” สำหรับสมุนไพรที่น่าสนใจ มีดังนี้นะค่ะ
หัวไช้เท้า
หัวไช้เท้า เป็นพืชอยู่ในตระกูลผักกาด มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน มีฤทธิ์เย็น มีรสเผ็ด หวาน สรรพคุณช่วยขับพิษ บรรเทาอาการท้องร่วง ท้องเสีย โรคบิด ขับปัสสาวะ กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว แก้ไอ ขับเสมหะ ลดน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาการเลือดกำเดาไหล แก้อาเจียน ปัจจุบันพบว่า หัวไช้เท้ามีแคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และมีวิตามินบี 1 บี 12 ไนอะซิน วิตามินซีสูง อีกทั้งในน้ำคั้นหัวไช้เท้าสดยังมีเอนไซม์ช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน จึงมีสรรพคุณบรรเทาอาการท้องผูกได้ นอกจากนี้ยังมีการนำน้ำคั้นหัวไช้เท้ามาทาเพื่อลบจุดด่างดำและฝ้าบนใบหน้าอีกด้วย ถ้าเป็นอย่างนี้มื้อต่อไป ทีมงานผึ้งแนะนำให้ถามหาเมนูหัวไช้เท้ากันด้วยนะค่ะ
ปวยเล้ง
ปวยเล้งหรือผักโขมฝรั่ง เป็นผักใบเขียวที่มีโปรตีน เหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียม วิตามินซี วิตามิน บี 2 และกรดโฟลิกสูงมาก เคยพบว่า มีการปลูกปวยเล้งในอิหร่านก่อนจะนำไปปลูกในประเทศจีน โดยปวยเล้งมีฤทธิ์ค่อนข้างเย็น มีรสหวาน ช่วยระบาย แก้อาการท้องผูก กระหายน้ำ เพิ่มความชุ่มชื้น ลดระดับน้ำตาลในเลือด บรรเทาอาการตับอ่อนอักเสบ ริดสีดวงทวาร แต่ไม่ควรกินสด เพราะมีกรดออกซาลิก ซึ่งยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียม
ผักกาดขาว
ศาสตร์การแพทย์แผนจีนนั้นระบุว่า ผักกาดขาวมีฤทธิ์ค่อนข้างเย็น รสหวาน มีสรรพคุณบำรุงกระเพาะอาหาร ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการกระหาย ลดความร้อนภายใน โดยพบว่า มีวิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค แคลเซียม ซีลีเนียม โพแทสเซียมสูง
มีเรื่องเล่าว่า ครั้งเมื่อพระนางซูสีไทเฮาทรงพระประชวร อ่อนเพลีย เสวยไม่ได้ เครื่องเสวยราคาแพงอย่างไรก็ไม่ดีขึ้น มีผู้แนะนำให้ลองเสวยซุปผักกาดขาว ทรงเสวยได้และอาการดีขึ้น ต่อมาภายหลังจึงมีการจัดเครื่องเสวยโดยมีผักกาดขาวอยู่ด้วยเป็นประจำ
มื้อต่อไป ไม่ว่าจะทำเองหรือสำเร็จรูป อย่าลืมทานผักกาดขาวด้วยนะค่ะ
ข้าวเหนียว
ข้าวเหนียว มีฤทธิ์อุ่น รสหวาน ใช้บำรุงกระเพาะ ม้าม ปอด เหมาะกับผู้ที่มีภาวะกระเพาะอาหาร ม้ามบกพร่อง ซึ่งมักจะมีอาการท้องเสีย เหงื่อออกง่าย ในสมัยจีนโบราณมีการปรุงโจ๊กข้าวเหนียว โดยนำข้าวเหนียวมาต้มใส่น้ำขิง หอมหัวใหญ่ ใส่เกลือนิดหน่อย ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าสูตรนี้มีสรรพคุณช่วยรักษาไข้หวัด อย่างไรก็ตาม ข้าวเหนียวไม่เหมาะกับผู้ที่มีฝีหนองอักเสบ มีอาการไอ มีเสมหะเหนียว เด็ก ผู้สูงอายุ เป็นต้น
ถั่วเขียว
ตำราเหลียวเปิ่นเฉา ระบุว่า ถั่วเขียวมีฤทธิ์เย็น รสหวาน วิ่งเข้าเส้นลมปราณกระเพาะอาหารและหัวใจทั้ง 12 เส้น มีสรรพคุณช่วยปรับอวัยวะภายใน กระจายลมที่ผิวหนังทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น ขับร้อน แก้กระหาย ขับหนอง ขับปัสสาวะ บรรเทาอาการอักเสบ ลดบวม ลดไข้ ขับสารพิษ ถั่วเขียวเป็นอาหารที่เหมาะกับฤดูร้อน เพราะทำให้ร่างกายเย็นลง อีกทั้งเป็นอาหารที่ให้พลังงานต่ำ แต่มีใยอาหารสูง จึงเหมาะกับผู้ที่ลดน้ำหนัก ผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตัวอย่างเมนูถั่วเขียวที่เพื่อน ๆ สามารถทำทานเอง ไม่หวานเกินไป ได้แก่ ข้าวต้มถั่วเขียว ชาถั่วเขียว
ขึ้นฉ่าย
ขึ้นฉ่าย มีสรรพคุณขับร้อน ขับลม ขับชื้น ขับน้ำ สงบตับ ถ้ากินติดต่อเป็นเวลานานจะทำให้ร่างกายเย็น ใช้กับผู้ที่ มีอาการหยินพร่อง ไฟกำเริบ แต่ผู้ที่มีอาการถ่ายเหลว ท้องเสีย กระเพาะอาหารและม้ามอ่อนแอ ไม่ควรกินขึ้นฉ่ายในปริมาณมาก ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า ขึ้นฉ่ายมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และวิตามินบีสูง ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง ปวดศีรษะ ปวดฟัน เจ็บคอ ลดความดันโลหิตโดยไม่มีผลต่อการทำงานของหัวใจ ลดไขมันในเลือด
แตงโม
แตงโม มีฤทธิ์เย็น รสหวาน วิ่งเข้าเส้นลมปราณหัวใจ กระเพาะอาหาร และกระเพาะปัสสาวะ มีสรรพคุณช่วยขับร้อน ขับปัสสาวะ แก้กระหาย บรรเทาอาการอักเสบในปากและแก้เจ็บคอ แต่ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ร่างกายมีภาวะกระเพาะอาหารและม้ามพร่อง มีความชื้นตกค้าง ท้องเสีย ไม่ควรกิน เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายเย็นและมีอาการมากขึ้น นอกจากนี้ในแตงโมยังมีวิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินซี ไลโคปีน มีสารแอนติออกซิแดนต์ โพแทสเซียมสูง แถมในเนื้อ แตงโมปริมาณ 1 ถ้วยตวงให้พลังงานเพียง 40 แคลอรีเท่านั้น จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
น้ำมันพืชตราผึ้ง ปลอดไขมันทรานส์
“ผึ้ง” กรอบอร่อยได้คุณค่า แบรนด์ของคนรุ่นใหม่
Cooking By Bee
ข้อมูลจาก นิตยสารชีวจิต
กลุ่มปาล์มธรรมชาติ
ผู้บุกเบิกสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับตลาดน้ำมันปาล์มของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ที่มุ่งมั่นยกระดับตลาดน้ำมันปาล์มในประเทศด้วยการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิต โดยคำนึงถึงการรักษาสมดุลธรรมชาติให้กับโลก ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดและคงคุณค่าทางโภชนาการจากธรรมชาติสูงสุดให้กับลูกค้าทั้งกลุ่มธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป
HEALTH
- เรื่องต้องรู้…คาร์โบไฮเดรตชนิดดีและไม่ดี
- อาหารสุขภาพผิว
- อาหารแนวย้อนยุคแบบผึ้ง
- กินอาหารก่อนออกกำลังกาย ดีหรือไม่
- อาหารช่วยผิวขาว กระจ่างใส มีสุขภาพดี
- อาหารต้านฝนที่คนภูมิต้านทานต่ำ ควรทาน
- 6 อาหารต้านหวัด ช่วงหน้าฝน
- 10 กิจกรรมแก้เบื่อช่วงโควิด
- งานอดิเรกสำหรับหน้าฝน ที่ทุกคนทำได้
- วิธีดูแลสุขภาพ เตรียมเข้าหน้าฝน
- ถ้าโควิดจบแล้ว เราจะทำอะไรดี
- 3 สร้าง 2 ใช้ ดูแลสุขภาพจิตช่วงโควิด-19
- Covid-19 ไม่ทนความร้อน! WHO แนะนำกินอาหารปรุงสุกลดความเสี่ยง
- ผ่านวิกฤตโควิด ด้วยกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว
- อยู่บ้านสู้โควิด ควรทำอะไรบ้าง
- ภาวะโลกร้อนกับอาหารที่กิน
- ออกกำลังกายอยู่บ้านง่าย ๆ ไม่ต้องเข้าฟิตเนส
- Keto diet เทรนด์อาหารลดคาร์บเพื่อลดหุ่น
- การล้างมือให้ถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงติดไวรัสโคโรนา
- โซนการเต้นของหัวใจ กับการออกกำลังกาย
- อาการที่บอกว่า ออกกำลังกายไม่ได้ผล
- รู้แบบนี้แล้ว ออกกำลังกายดีกว่า
- อาหารต้านโรคช่วงหน้าฝน
- มุมมองโรคฮิตหน้าฝน จากแพทย์แผนไทย
- เมนูอาหารหน้าฝน คนภูมิต้านทานต่ำควรทาน
- ความแตกต่างระหว่างคาร์โบไฮเดรต ชนิดดีและไม่ดี
- ไดเอทอย่างไร เรียก “คาร์บต่ำ ไขมันสูง”
- เร่งเมตาบอลิซึมในร่างกาย… แบบง่าย ๆ
- สมุนไพร…ต้านอนุมูลอิสระ
- เทรนด์อาหาร 2019 สายกินต้องตามให้ทัน
- สุดยอดสมุนไพรจีน ที่ควรหามาทาน
- เคล็ดลับแพทย์แผนไทยโบราณ กินตามธาตุเพื่อร่างกายแข็งแรง
- วิธีเลือกซื้ออาหารริมถนนให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนฝุ่นพิษ
- เพราะอะไรน้ำมันปาล์มจึงเหมาะกับอาหารทอด ส่งต่อสุขภาพดีคู่ครัวยาวนานกว่า 12 ปี กับน้ำมันพืชตราผึ้ง
- ไขรหัส…ทำไมคนเราถึงปลื้มของทอดได้ง่ายกว่าอาหารประเภทอื่น
- คืนคริสมาสต์ แต่ละประเทศเขาทำอาหารอะไรกันบ้างนะ
- 5 สไตล์การจัดเลี้ยง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับปาร์ตี้
- 4 เทคนิค รีโนเวทห้องครัว แบบง่าย ๆ สบายกระเป๋า
- 7 เทรนด์อาหารมาแรงแห่งปี 2018
- ปาล์มน้ำมันประโยชน์ที่มากกว่าการผลิตน้ำมัน
- สารพัดพร็อพเก๋ ๆ จากใบปาล์ม
- มิถุนายนนี้ อย. ห้ามใช้ไขมันทรานส์
- “กรดไลโนเลอิก” กรดไขมันที่ดีต่อใจ
- “น้ำมันปาล์ม” ไม่มีคอเลสเตอรอลนะจ๊ะ
- ในน้ำมันปาล์มมีอะไรบ้าง
- “น้ำมันปาล์ม” เกิดสารโพล่าร์น้อยสุด
- “น้ำมันปาล์ม” ปลอดไขมันทรานส์
- วิธีเลือกซื้อ เลือกใช้ “น้ำมันพืช” อย่างถูกต้อง
- “น้ำมันปาล์ม” ทางเลือกเพื่อสุขภาพ
- เบาหวาน…จัดการได้
- เรื่องง่าย ๆ เรื่องของเมนูไข่
- ไอเดียเจ๋ง!! ข้าวมันไก่ลดโลกร้อนห่อใบตองแทนกล่องโฟม
- ไขน้ำมันปาล์มเป็น ไม่เป็นอันตราย
- มองแบบวิทย์ พลิกชีวิตการกินอยู่
- 10 ปลาไทยราคาบ้าน ๆ โอเมก้า 3 สูงไม่แพ้แซลมอน
- สารโพลาร์คืออะไร? ทำไมคนรักสุขภาพถึงต้องระวัง
- น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการ หรือ Processed vegetable oil คือ
- น้ำมันปาล์มไม่มีคอเลสเตอรอล …เรื่องจริงที่ต้องรู้ไว้
- ไขมันทรานส์…ภัยร้ายซ่อนรูป
- ทำไมต้องน้ำมันปาล์มตรา “ผึ้ง”