มิถุนายนนี้ อย. ห้ามใช้ไขมันทรานส์
พูดถึงไขมัน ใคร ๆ ก็คงกลัวว่า ทานเข้าไปแล้วมันจะอ้วนใช่ไหมล่ะคะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เจ้าไขมันเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อร่างกายนะคะ เพราะเป็นแหล่งพลังงานและเราจำเป็นที่จะต้องได้รับกรดไขมันที่จำเป็นมาช่วยในการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน คือ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี เเละวิตามินเค เเต่การรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินความพอดี อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ และตัวที่ร้ายกาจมาก ๆ ก็คือ “ไขมันทรานส์” นอกจากจะเสี่ยงต่อโรคอ้วนแล้ว ก็ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคร้ายอีกหลายโรคด้วยนะคะ
ไขมันทรานส์ (Trans Fat) หรือไขมันไม่อิ่มตัวที่ถูกแปรสภาพทางเคมีให้มีความอิ่มตัวเทียม เพื่อให้สามารถเก็บได้นานโดยไม่เหม็นหืนง่ายและทนความร้อนได้สูง ซึ่งปัจจุบันพบว่าเป็นตัวการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน ซึ่งไม่ได้ซ่อนตัวอยู่แค่ในอาหารหรือขนมที่มีรูปลักษณ์สวยงามน่าทานเท่านั้น แต่ไขมันทรานส์ยังพบในน้ำมันที่ผ่านกระบวนการ “ไฮโดรจีเนชั่น” (Hydrogenation) หรือการเติมไฮโดรเจนลงไป เพื่อแปรรูปให้มีความอิ่มตัวเทียม ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจึงควรอ่านฉลากอาหาร โดยเลือกซื้อน้ำมันที่ระบุว่าปลอดไขมันทรานส์ หรือไม่ปรากฏคำว่า “Hydrogenated Oil” หรือ “Partially Hydrogenated Oil” นอกจากนี้ยังไม่ควรนำน้ำมันประเภทนี้ไปใช้ทอดอาหารที่มีความร้อนสูงเป็นเวลานาน เพราะจะยิ่งทำให้เกิดไขมันทรานส์เพิ่มขึ้น (ข้อมูลจาก www.naturalpalm.com)
และในช่วงนี้เองผึ้งก็ทราบข่าวมาว่า จะมีกฎหมายห้ามใช้ไขมันทรานส์เกิดขึ้น โดยข้อมูลจาก ไทยรัฐ เปิดเผยว่า นักวิชาการอาหารและยาชำนาญการ สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย เนื้อหาสาระจะควบคุมการผลิตอาหารที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ที่ก่อให้เกิดกรดไขมันทรานส์ เพราะผลวิจัยพบว่า ไขมันทรานส์เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จึงอาศัยอำนาจแห่ง พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่ง รมว.สาธารณสุข ออกประกาศไว้ คือ
- ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย
- ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่ขณะนี้ได้ผ่านการประชาพิจารณ์พิจารณาแล้ว รอเสนอ รมว.สาธารณสุขลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เบื้องต้นคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งหากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามกำหนดจะมีผลในอีก 1 ปี แต่ความเป็นจริงหากนับเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ก็จะทำให้ผู้ประกอบการมีเวลาเตรียมตัว 1 ปีครึ่ง
แต่ไม่ต้องกังวลไปนะคะ เพราะ “น้ำมันปาล์มตราผึ้ง” ปลอดไขมันทรานส์ที่เกิดจากกระบวนการไฮโดรจีเนชั่น เพราะผลิตจากเนื้อปาล์มที่มีกรดไขมันอิ่มตัวตามธรรมชาติ นำมาสกัดแยกกรดไขมันอิ่มตัวบางส่วนออกโดยยังคงคุณสมบัติทนความร้อนสูงได้ดี ไม่ก่อให้เกิดคราบเหนียวติดกระทะและไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนจนเกิดกลิ่นหืน
มาใช้น้ำมันปาล์มตรา “ผึ้ง” กันเถอะค่ะ นอกจากจะปลอดไขมันทรานส์แล้ว ยังไม่มีคอเลสเตอรอล และผลิตด้วยกระบวนการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วยนะคะ
กรอบอร่อยได้คุณค่า “ผึ้ง” แบรนด์ของคนรุ่นใหม่
Cooking by Bee
กลุ่มปาล์มธรรมชาติ
ผู้บุกเบิกสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับตลาดน้ำมันปาล์มของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ที่มุ่งมั่นยกระดับตลาดน้ำมันปาล์มในประเทศด้วยการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิต โดยคำนึงถึงการรักษาสมดุลธรรมชาติให้กับโลก ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดและคงคุณค่าทางโภชนาการจากธรรมชาติสูงสุดให้กับลูกค้าทั้งกลุ่มธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป
HEALTH
- เรื่องต้องรู้…คาร์โบไฮเดรตชนิดดีและไม่ดี
- อาหารสุขภาพผิว
- อาหารแนวย้อนยุคแบบผึ้ง
- กินอาหารก่อนออกกำลังกาย ดีหรือไม่
- อาหารช่วยผิวขาว กระจ่างใส มีสุขภาพดี
- อาหารต้านฝนที่คนภูมิต้านทานต่ำ ควรทาน
- 6 อาหารต้านหวัด ช่วงหน้าฝน
- 10 กิจกรรมแก้เบื่อช่วงโควิด
- งานอดิเรกสำหรับหน้าฝน ที่ทุกคนทำได้
- วิธีดูแลสุขภาพ เตรียมเข้าหน้าฝน
- ถ้าโควิดจบแล้ว เราจะทำอะไรดี
- 3 สร้าง 2 ใช้ ดูแลสุขภาพจิตช่วงโควิด-19
- Covid-19 ไม่ทนความร้อน! WHO แนะนำกินอาหารปรุงสุกลดความเสี่ยง
- ผ่านวิกฤตโควิด ด้วยกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว
- อยู่บ้านสู้โควิด ควรทำอะไรบ้าง
- ภาวะโลกร้อนกับอาหารที่กิน
- ออกกำลังกายอยู่บ้านง่าย ๆ ไม่ต้องเข้าฟิตเนส
- Keto diet เทรนด์อาหารลดคาร์บเพื่อลดหุ่น
- การล้างมือให้ถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงติดไวรัสโคโรนา
- โซนการเต้นของหัวใจ กับการออกกำลังกาย
- อาการที่บอกว่า ออกกำลังกายไม่ได้ผล
- รู้แบบนี้แล้ว ออกกำลังกายดีกว่า
- อาหารต้านโรคช่วงหน้าฝน
- มุมมองโรคฮิตหน้าฝน จากแพทย์แผนไทย
- เมนูอาหารหน้าฝน คนภูมิต้านทานต่ำควรทาน
- ความแตกต่างระหว่างคาร์โบไฮเดรต ชนิดดีและไม่ดี
- ไดเอทอย่างไร เรียก “คาร์บต่ำ ไขมันสูง”
- เร่งเมตาบอลิซึมในร่างกาย… แบบง่าย ๆ
- สมุนไพร…ต้านอนุมูลอิสระ
- เทรนด์อาหาร 2019 สายกินต้องตามให้ทัน
- สุดยอดสมุนไพรจีน ที่ควรหามาทาน
- เคล็ดลับแพทย์แผนไทยโบราณ กินตามธาตุเพื่อร่างกายแข็งแรง
- วิธีเลือกซื้ออาหารริมถนนให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนฝุ่นพิษ
- เพราะอะไรน้ำมันปาล์มจึงเหมาะกับอาหารทอด ส่งต่อสุขภาพดีคู่ครัวยาวนานกว่า 12 ปี กับน้ำมันพืชตราผึ้ง
- ไขรหัส…ทำไมคนเราถึงปลื้มของทอดได้ง่ายกว่าอาหารประเภทอื่น
- คืนคริสมาสต์ แต่ละประเทศเขาทำอาหารอะไรกันบ้างนะ
- 5 สไตล์การจัดเลี้ยง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับปาร์ตี้
- 4 เทคนิค รีโนเวทห้องครัว แบบง่าย ๆ สบายกระเป๋า
- 7 เทรนด์อาหารมาแรงแห่งปี 2018
- ปาล์มน้ำมันประโยชน์ที่มากกว่าการผลิตน้ำมัน
- สารพัดพร็อพเก๋ ๆ จากใบปาล์ม
- มิถุนายนนี้ อย. ห้ามใช้ไขมันทรานส์
- “กรดไลโนเลอิก” กรดไขมันที่ดีต่อใจ
- “น้ำมันปาล์ม” ไม่มีคอเลสเตอรอลนะจ๊ะ
- ในน้ำมันปาล์มมีอะไรบ้าง
- “น้ำมันปาล์ม” เกิดสารโพล่าร์น้อยสุด
- “น้ำมันปาล์ม” ปลอดไขมันทรานส์
- วิธีเลือกซื้อ เลือกใช้ “น้ำมันพืช” อย่างถูกต้อง
- “น้ำมันปาล์ม” ทางเลือกเพื่อสุขภาพ
- เบาหวาน…จัดการได้
- เรื่องง่าย ๆ เรื่องของเมนูไข่
- ไอเดียเจ๋ง!! ข้าวมันไก่ลดโลกร้อนห่อใบตองแทนกล่องโฟม
- ไขน้ำมันปาล์มเป็น ไม่เป็นอันตราย
- มองแบบวิทย์ พลิกชีวิตการกินอยู่
- 10 ปลาไทยราคาบ้าน ๆ โอเมก้า 3 สูงไม่แพ้แซลมอน
- สารโพลาร์คืออะไร? ทำไมคนรักสุขภาพถึงต้องระวัง
- น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการ หรือ Processed vegetable oil คือ
- น้ำมันปาล์มไม่มีคอเลสเตอรอล …เรื่องจริงที่ต้องรู้ไว้
- ไขมันทรานส์…ภัยร้ายซ่อนรูป
- ทำไมต้องน้ำมันปาล์มตรา “ผึ้ง”