เรื่องต้องรู้…คาร์โบไฮเดรตชนิดดีและไม่ดี
ปัจจุบันมีการให้ความสนใจเกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรตมากขึ้น หลังจากที่กระแสการควบคุมอาหารแบบคีโต (Keto diet) โดยการทานคาร์โบไฮเดรตน้อย เพื่อเร่งการเอาไขมันในร่างกายออกมาใช้เป็นพลังงาน ทำให้ต้องมีการพิจารณากันมากขึ้นว่าคาร์โบไฮเดรตที่น้อยนั้น เลือกกินอย่างไรจึงเหมาะสม
คาร์โบไฮเดรตชนิดดี และชนิดไม่ดี
โดยพื้นฐานแล้ว คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย โดยแตกตัวออกเป็นโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส และเป็นแหล่งพลังงานหลักให้กับสมอง อย่างไรก็ตามในชีวิตประจำวัน เราจะพบกับคาร์โบไฮเดรตหลากหลายประเภท เรียกคาร์โบไฮเดรตชนิดให้คุณประโยชน์แก่ร่างกายว่า คาร์โบไฮเดรตชนิดดี และคาร์โบไฮเดรตที่นอกจากจะให้พลังงาน กลับมีโทษต่อร่างกายว่าคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี
คาร์โบไฮเดรตชนิดดี (Good carbs) ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มีโมเลกุลที่ยาวร่างกายใช้เวลาในการย่อยจนเปลี่ยนเป็นน้ำตาลช้า ดูดซึมช้า ทำให้อิ่มนาน ค่าดัชนีน้ำตาล (GI) ต่ำ ทำให้ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดช้า มักพบในคาร์โบไฮเดรตที่มีกากใยสูง ยังไม่ผ่านการแปรรูป ทำให้มีสารอาหารอื่นๆที่เป็นประโยชน์อยู่ เช่น แมกนีเซียม โปรตีน วิตามิน รวมถึงสารต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ
ตัวอย่างประเภทอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตที่ดี เช่น แป้งไม่ขัดขาว ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต เมล็ดพืช ธัญพืช เผือก มัน ถั่วต่างๆ แอบเปิ้ล กล้วย แครอท มันฝรั่ง ฯลฯ
คาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี (Bad carbs) ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว ร่างกายใช้เวลาในการย่อยเร็ว เปลี่ยนเป็นน้ำตาลเร็ว ดูดซึมเร็ว เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดเร็ว พบในคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการแปรรูปหรือผ่านการขัดสี ซึ่งหาได้ทั่วไป เช่น ขนมปังขาว ขนมหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการแปรรูป ฯลฯ
ข้อเสียของคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี คือการเปลี่ยนเป็นน้ำตาลง่าย ร่างกายได้พลังงานเร็ว โดยพลังงานที่เกิดขึ้นถ้าไม่ถูกนำมาใช้ก็จะสะสมในร่างกาย และเปลี่ยนมาเป็นไขมันสะสมเพื่อเป็นพลังงานสำรอง ทั้งนี้การทานคาร์โบไฮเดรตชนิดนี้จะทำให้ร่างกายรู้สึกหิวบ่อย และอาจเป็นสาเหตุให้น้ำหนักเพิ่มได้ นอกจากนี้หากมีระดับน้ำตาลในเลือดมาก มีการหลั่งอินซูลินออกมาควบคุมระดับน้ำตาลมาก อาจนำมาซึ่งการมีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดอาการวูบได้
ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตมากแค่ไหน
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า เราควรได้รับคาร์โบไฮเดรตชนิดดี ประมาณ 45 - 65 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณแคลอรี่ในแต่ละวัน โดยถ้าเทียบจากปริมาณแคลอรี่ต่อวันที่ 1,600 แคลอรี่ เราควรทานคาร์โบไฮเดรตชนิดดี ประมาณ 720 - 1,040 แคลอรี่หรือประมาณ 180 - 260 กรัม แต่บางคนหากไม่ได้ใส่ใจในการคำนวณปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่อวันมากนัก วิธีที่ง่ายที่สุดในการรักษาสมดุลคือ ใน 1 วัน กินอาหารหรือขนมที่ครึ่งหนึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดดี ส่วนที่เหลือเป็นโปรตีนและไขมันชนิดดี
ควรอ่านฉลากโภชนาการอย่างไร
ก่อนอื่นแนะนำให้ดูในส่วนของปริมาณคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด (Total carbohydrates) จากนั้นดูปริมาณน้ำตาล โดยควรเลือกอาหารที่มีน้ำตาลน้อยกว่า 10 กรัมต่อจำนวนหน่วยบริโภค เช่น เดียวกันควรเลือกอาหารที่มีกากใยอย่างน้อย 3 กรัมต่อจำนวนหน่วยบริโภค ทั้งนี้ควรดูรายละเอียดส่วนผสมอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดดี
ตราบใดที่คุณได้รับคาร์โบไฮเดรตชนิดที่ดีมากและชนิดไม่ดีน้อยในแต่ละวัน ก็ไม่มีอะไรต้องกังวลสำหรับเรื่องของคาร์โบไฮเดรตอีก เพียงเท่านี้คุณก็สามารถกินอาหารให้ถูกตามหลักโภชนาการ สร้างรากฐานสุขภาพที่ดีให้ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กลุ่มปาล์มธรรมชาติ
ผู้บุกเบิกสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับตลาดน้ำมันปาล์มของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ที่มุ่งมั่นยกระดับตลาดน้ำมันปาล์มในประเทศด้วยการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิต โดยคำนึงถึงการรักษาสมดุลธรรมชาติให้กับโลก ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดและคงคุณค่าทางโภชนาการจากธรรมชาติสูงสุดให้กับลูกค้าทั้งกลุ่มธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป
HEALTH
- เรื่องต้องรู้…คาร์โบไฮเดรตชนิดดีและไม่ดี
- อาหารสุขภาพผิว
- อาหารแนวย้อนยุคแบบผึ้ง
- กินอาหารก่อนออกกำลังกาย ดีหรือไม่
- อาหารช่วยผิวขาว กระจ่างใส มีสุขภาพดี
- อาหารต้านฝนที่คนภูมิต้านทานต่ำ ควรทาน
- 6 อาหารต้านหวัด ช่วงหน้าฝน
- 10 กิจกรรมแก้เบื่อช่วงโควิด
- งานอดิเรกสำหรับหน้าฝน ที่ทุกคนทำได้
- วิธีดูแลสุขภาพ เตรียมเข้าหน้าฝน
- ถ้าโควิดจบแล้ว เราจะทำอะไรดี
- 3 สร้าง 2 ใช้ ดูแลสุขภาพจิตช่วงโควิด-19
- Covid-19 ไม่ทนความร้อน! WHO แนะนำกินอาหารปรุงสุกลดความเสี่ยง
- ผ่านวิกฤตโควิด ด้วยกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว
- อยู่บ้านสู้โควิด ควรทำอะไรบ้าง
- ภาวะโลกร้อนกับอาหารที่กิน
- ออกกำลังกายอยู่บ้านง่าย ๆ ไม่ต้องเข้าฟิตเนส
- Keto diet เทรนด์อาหารลดคาร์บเพื่อลดหุ่น
- การล้างมือให้ถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงติดไวรัสโคโรนา
- โซนการเต้นของหัวใจ กับการออกกำลังกาย
- อาการที่บอกว่า ออกกำลังกายไม่ได้ผล
- รู้แบบนี้แล้ว ออกกำลังกายดีกว่า
- อาหารต้านโรคช่วงหน้าฝน
- มุมมองโรคฮิตหน้าฝน จากแพทย์แผนไทย
- เมนูอาหารหน้าฝน คนภูมิต้านทานต่ำควรทาน
- ความแตกต่างระหว่างคาร์โบไฮเดรต ชนิดดีและไม่ดี
- ไดเอทอย่างไร เรียก “คาร์บต่ำ ไขมันสูง”
- เร่งเมตาบอลิซึมในร่างกาย… แบบง่าย ๆ
- สมุนไพร…ต้านอนุมูลอิสระ
- เทรนด์อาหาร 2019 สายกินต้องตามให้ทัน
- สุดยอดสมุนไพรจีน ที่ควรหามาทาน
- เคล็ดลับแพทย์แผนไทยโบราณ กินตามธาตุเพื่อร่างกายแข็งแรง
- วิธีเลือกซื้ออาหารริมถนนให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนฝุ่นพิษ
- เพราะอะไรน้ำมันปาล์มจึงเหมาะกับอาหารทอด ส่งต่อสุขภาพดีคู่ครัวยาวนานกว่า 12 ปี กับน้ำมันพืชตราผึ้ง
- ไขรหัส…ทำไมคนเราถึงปลื้มของทอดได้ง่ายกว่าอาหารประเภทอื่น
- คืนคริสมาสต์ แต่ละประเทศเขาทำอาหารอะไรกันบ้างนะ
- 5 สไตล์การจัดเลี้ยง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับปาร์ตี้
- 4 เทคนิค รีโนเวทห้องครัว แบบง่าย ๆ สบายกระเป๋า
- 7 เทรนด์อาหารมาแรงแห่งปี 2018
- ปาล์มน้ำมันประโยชน์ที่มากกว่าการผลิตน้ำมัน
- สารพัดพร็อพเก๋ ๆ จากใบปาล์ม
- มิถุนายนนี้ อย. ห้ามใช้ไขมันทรานส์
- “กรดไลโนเลอิก” กรดไขมันที่ดีต่อใจ
- “น้ำมันปาล์ม” ไม่มีคอเลสเตอรอลนะจ๊ะ
- ในน้ำมันปาล์มมีอะไรบ้าง
- “น้ำมันปาล์ม” เกิดสารโพล่าร์น้อยสุด
- “น้ำมันปาล์ม” ปลอดไขมันทรานส์
- วิธีเลือกซื้อ เลือกใช้ “น้ำมันพืช” อย่างถูกต้อง
- “น้ำมันปาล์ม” ทางเลือกเพื่อสุขภาพ
- เบาหวาน…จัดการได้
- เรื่องง่าย ๆ เรื่องของเมนูไข่
- ไอเดียเจ๋ง!! ข้าวมันไก่ลดโลกร้อนห่อใบตองแทนกล่องโฟม
- ไขน้ำมันปาล์มเป็น ไม่เป็นอันตราย
- มองแบบวิทย์ พลิกชีวิตการกินอยู่
- 10 ปลาไทยราคาบ้าน ๆ โอเมก้า 3 สูงไม่แพ้แซลมอน
- สารโพลาร์คืออะไร? ทำไมคนรักสุขภาพถึงต้องระวัง
- น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการ หรือ Processed vegetable oil คือ
- น้ำมันปาล์มไม่มีคอเลสเตอรอล …เรื่องจริงที่ต้องรู้ไว้
- ไขมันทรานส์…ภัยร้ายซ่อนรูป
- ทำไมต้องน้ำมันปาล์มตรา “ผึ้ง”