อยู่บ้านสู้โควิด ควรทำอะไรบ้าง
กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีประชากรรวมกันมากกว่า 13 ล้านคน มีสถานบันเทิง ท่องเที่ยว ศูนย์การค้า อีกทั้งยังเป็นแหล่งประกอบอาชีพและธุรกิจทุกประเภท มีผู้คนรวมกันตามสถานที่ต่าง ๆ ตลอดเวลา จึงมีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโควิด-19 ค่อนข้างสูง หากไม่มีมาตรการควบคุม อาจทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 รุนแรงขึ้นได้
ในที่สุด กทม. ต้องประกาศปิดสถานที่เพื่อป้องกันโควิด-19 ระบาดหนัก โดยสั่งปิดห้างและสถานที่ต่างๆ ที่เสี่ยง รวม 26 แห่ง เมื่อห้างร้านปิด เราจะใช้ชีวิตอยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติอย่างไร มาพบคำตอบกัน
- Food Delivery เป็นทางเลือกที่ดี แต่อย่าลืมพึ่งตัวเองด้วย
แม้ว่าเราจะสามารถสั่งอาหารจาก Food Delivery ผ่านพนักงานจัดส่งอาหารได้เหมือนเดิม แต่ควรคิดเผื่อสถานการณ์ที่หนักขึ้นและต้องพึ่งพาตัวเอง ด้วยการเตรียมตู้เย็นและอุปกรณ์อุ่นอาหารพร้อมรับมือด้วย - เคลียร์ธุระที่ต้องติดต่อส่วนราชการ
หากคุณมีธุระที่ต้องโอนที่ดิน เปลี่ยนชื่อ ย้ายทะเบียนบ้าน ต่อภาษีรถยนต์ หรือต้องทำธุระติดต่อส่วนราชการในช่วงนี้รีบวางแผนเคลียร์ให้เสร็จ เพื่อจะได้วางแผนต่อได้ว่าจะเดินทางกลับภูมิลำเนาที่ต่างจังหวัดอย่างไรต่อดี - ชำระบิลต่าง ๆ ให้ครบ หรือเปลี่ยนช่องทางการชำระเงิน
พวกค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าบัตรเครดิต ค่าประกันชีวิต นั้นสามารถชำระผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้หมดแล้ว ลดการเดินทางไปต่อคิวจ่ายบิลที่มีคนจำนวนมาก - ย้ายเด็ก ๆ ไปอยู่กับญาติ ถ้าทำได้
ถ้าผู้ปกครองยังต้องไปทำงานอยู่ และบุตรหลานต้องอยู่ที่บ้านลำพัง ควรพาไปอยู่กับญาติในช่วงปิดเทอม ย้ำว่าต้องไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง และไม่มีโอกาสเสี่ยงไปติดเชื้อ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 จากพ่อแม่ถึงเด็ก และต้องอัปเดตข้อมูลกับทางโรงเรียนว่าเมื่อถึงช่วงเปิดเทอมสามารถไปโรงเรียนได้หรือยัง - วางแผนคุมกำเนิด
ติดตามข่าวสารการระบาดของโรคก่อนที่จะวางแผนตั้งครรภ์ เนื่องจากสาวๆ จะมีร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในช่วงตั้งครรภ์ และส่งผลต่อภูมิคุ้มกันที่อาจจะลดลง ทำให้ต้องตกไปอยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 แล้วมีโอกาสแสดงอาการรุนแรงได้ - ล้างตู้เย็น
เตรียมความพร้อมเพื่อซื้อของสด และอาหารมาไว้ที่บ้านบ้าง ส่วนเรื่องที่ว่าจำเป็นต้องกักตุนสินค้าหรือไม่นั้น ต้องติดตามข่าวสาร และเมื่อจัดตู้เย็นแล้วจะได้รู้ว่าจะบรรจุอาหารได้มากน้อยแค่ไหน และตู้เย็นยังมีสภาพดีหรือเปล่า - ซื้อของสด
ควรซื้อของสดมาทำความสะอาดด้วยตัวเองก่อนจัดเก็บในช่องแช่แข็ง เพื่อความมั่นใจในความสะอาดของอาหาร และจะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง - ตุนอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงแสนรัก
ถ้ามีสัตว์เลี้ยงในบ้านจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องซื้ออาหารสัตว์เตรียมไว้ล่วงหน้า 1-2 เดือน เนื่องจากอาหารสัตว์มีกรรมวิธีการผลิตที่ต้องใช้ระยะเวลา และกำลังเป็นที่ต้องการ ราคาอาหารสัตว์อาจสูงขึ้นในอนาคต - โกนหนวดและตัดผม
การประกาศปิดสถานที่ต่างๆ และขอความร่วมมือให้ประชาชนอยู่ที่บ้าน แต่ก็ต้องวางแผนจัดการตัวเองด้วยการโกนหนวดโกนเครา รวมถึงตัดผมด้วย ซึ่งร้านตัดผมถูกห้ามเปิด ดังนั้นอาจจะเป็นเวลาที่เราต้องเรียนรู้การตัดแต่งทรงผมด้วยตัวเองเสียแล้ว - เพิ่มช่องทางการติดต่อกับเพื่อนบ้าน เพื่อช่วยเหลือกัน
มีเพื่อนบ้านช่วยเป็นหูเป็นตานั้นสำคัญ เราจะได้ทราบว่ามีใครเข้าออกชุมชนบ้าง และมีข่าวการระบาดมาใกล้ตัวหรือยัง แต่ต้องระวังข่าวปลอม ก่อนเชื่อต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม
วินาทีนี้ต้องดูแลกันให้ดีที่สุด เตรียมพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์อย่างมีสติ และไม่ตระหนก คือทางสู้โควิด-19 ดีที่สุดในเวลานี้
Cr. Thairath
กลุ่มปาล์มธรรมชาติ
ผู้บุกเบิกสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับตลาดน้ำมันปาล์มของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ที่มุ่งมั่นยกระดับตลาดน้ำมันปาล์มในประเทศด้วยการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิต โดยคำนึงถึงการรักษาสมดุลธรรมชาติให้กับโลก ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดและคงคุณค่าทางโภชนาการจากธรรมชาติสูงสุดให้กับลูกค้าทั้งกลุ่มธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป
HEALTH
- เรื่องต้องรู้…คาร์โบไฮเดรตชนิดดีและไม่ดี
- อาหารสุขภาพผิว
- อาหารแนวย้อนยุคแบบผึ้ง
- กินอาหารก่อนออกกำลังกาย ดีหรือไม่
- อาหารช่วยผิวขาว กระจ่างใส มีสุขภาพดี
- อาหารต้านฝนที่คนภูมิต้านทานต่ำ ควรทาน
- 6 อาหารต้านหวัด ช่วงหน้าฝน
- 10 กิจกรรมแก้เบื่อช่วงโควิด
- งานอดิเรกสำหรับหน้าฝน ที่ทุกคนทำได้
- วิธีดูแลสุขภาพ เตรียมเข้าหน้าฝน
- ถ้าโควิดจบแล้ว เราจะทำอะไรดี
- 3 สร้าง 2 ใช้ ดูแลสุขภาพจิตช่วงโควิด-19
- Covid-19 ไม่ทนความร้อน! WHO แนะนำกินอาหารปรุงสุกลดความเสี่ยง
- ผ่านวิกฤตโควิด ด้วยกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว
- อยู่บ้านสู้โควิด ควรทำอะไรบ้าง
- ภาวะโลกร้อนกับอาหารที่กิน
- ออกกำลังกายอยู่บ้านง่าย ๆ ไม่ต้องเข้าฟิตเนส
- Keto diet เทรนด์อาหารลดคาร์บเพื่อลดหุ่น
- การล้างมือให้ถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงติดไวรัสโคโรนา
- โซนการเต้นของหัวใจ กับการออกกำลังกาย
- อาการที่บอกว่า ออกกำลังกายไม่ได้ผล
- รู้แบบนี้แล้ว ออกกำลังกายดีกว่า
- อาหารต้านโรคช่วงหน้าฝน
- มุมมองโรคฮิตหน้าฝน จากแพทย์แผนไทย
- เมนูอาหารหน้าฝน คนภูมิต้านทานต่ำควรทาน
- ความแตกต่างระหว่างคาร์โบไฮเดรต ชนิดดีและไม่ดี
- ไดเอทอย่างไร เรียก “คาร์บต่ำ ไขมันสูง”
- เร่งเมตาบอลิซึมในร่างกาย… แบบง่าย ๆ
- สมุนไพร…ต้านอนุมูลอิสระ
- เทรนด์อาหาร 2019 สายกินต้องตามให้ทัน
- สุดยอดสมุนไพรจีน ที่ควรหามาทาน
- เคล็ดลับแพทย์แผนไทยโบราณ กินตามธาตุเพื่อร่างกายแข็งแรง
- วิธีเลือกซื้ออาหารริมถนนให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนฝุ่นพิษ
- เพราะอะไรน้ำมันปาล์มจึงเหมาะกับอาหารทอด ส่งต่อสุขภาพดีคู่ครัวยาวนานกว่า 12 ปี กับน้ำมันพืชตราผึ้ง
- ไขรหัส…ทำไมคนเราถึงปลื้มของทอดได้ง่ายกว่าอาหารประเภทอื่น
- คืนคริสมาสต์ แต่ละประเทศเขาทำอาหารอะไรกันบ้างนะ
- 5 สไตล์การจัดเลี้ยง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับปาร์ตี้
- 4 เทคนิค รีโนเวทห้องครัว แบบง่าย ๆ สบายกระเป๋า
- 7 เทรนด์อาหารมาแรงแห่งปี 2018
- ปาล์มน้ำมันประโยชน์ที่มากกว่าการผลิตน้ำมัน
- สารพัดพร็อพเก๋ ๆ จากใบปาล์ม
- มิถุนายนนี้ อย. ห้ามใช้ไขมันทรานส์
- “กรดไลโนเลอิก” กรดไขมันที่ดีต่อใจ
- “น้ำมันปาล์ม” ไม่มีคอเลสเตอรอลนะจ๊ะ
- ในน้ำมันปาล์มมีอะไรบ้าง
- “น้ำมันปาล์ม” เกิดสารโพล่าร์น้อยสุด
- “น้ำมันปาล์ม” ปลอดไขมันทรานส์
- วิธีเลือกซื้อ เลือกใช้ “น้ำมันพืช” อย่างถูกต้อง
- “น้ำมันปาล์ม” ทางเลือกเพื่อสุขภาพ
- เบาหวาน…จัดการได้
- เรื่องง่าย ๆ เรื่องของเมนูไข่
- ไอเดียเจ๋ง!! ข้าวมันไก่ลดโลกร้อนห่อใบตองแทนกล่องโฟม
- ไขน้ำมันปาล์มเป็น ไม่เป็นอันตราย
- มองแบบวิทย์ พลิกชีวิตการกินอยู่
- 10 ปลาไทยราคาบ้าน ๆ โอเมก้า 3 สูงไม่แพ้แซลมอน
- สารโพลาร์คืออะไร? ทำไมคนรักสุขภาพถึงต้องระวัง
- น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการ หรือ Processed vegetable oil คือ
- น้ำมันปาล์มไม่มีคอเลสเตอรอล …เรื่องจริงที่ต้องรู้ไว้
- ไขมันทรานส์…ภัยร้ายซ่อนรูป
- ทำไมต้องน้ำมันปาล์มตรา “ผึ้ง”