เทรนด์อาหาร 2019 สายกินต้องตามให้ทัน
สำหรับเพื่อน ๆ ที่เป็นคออาหาร อยากรู้กันว่าเทรนด์อาหารปี 2019 จะเป็นอย่างไร วันนี้ทีมงานผึ้งจะพามาดูกันนะค่ะ โดยเทรนด์หลัก ๆ ยังคงต่อเนื่องจากปี 2018 นั่นคือ การเน้นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมค่ะ ซึ่งผึ้งคิดว่าเพื่อน ๆ คงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี สำหรับที่ต่อเนื่องเพิ่มเติมในปี 2019 มีอะไรบ้าง ติดตามกันเลยค่ะ
- เมนูที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบในท้องถิ่น
เมนูที่มีส่วนผสมจากท้องถิ่น เป็นเทรนด์อาหารที่มาแรงเป็นอันดับต้น ๆ โดยนักท่องเที่ยวจะคอยเสาะหาร้านอาหารที่เมนูทำจากวัตถุดิบท้องถิ่น เพราะหาทานที่อื่นลำบาก มาถึงที่แล้วต้องหาโอกาสทานกัน ถ้าเพื่อน ๆ มีร้านอยู่ ลองหาดูนะค่ะ มีวัตถุดิบอะไรที่เป็นจุดเด่น นำมาต่อยอดอะไรได้บ้าง อาจเป็นของดีประจำจังหวัด อำเภอ ตำบล ปรับให้เป็นสไตล์เราเอง รับรองได้ว่าจะมีนักท่องเที่ยวมาแวะชิมไม่ขาดสายเลยค่ะ - เมนูง่าย ๆ แต่ได้คุณประโยชน์สูง
ไม่ต้องสลับซับซ้อนจนเกินไป ลองหาเมนูง่าย ๆ ที่ทำจากวัตถุดิบที่มีคุณประโยชน์สูง เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ผักสด วัตถุดิบที่นำมาจากฟาร์ม ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค มาจัดทำเป็นเมนูเฉพาะ อย่าลืมใส่ Story ให้เป็นเรื่องราวขึ้นมาพูดคุยกับผู้บริโภคดู รับรองว่าอาหารเมนูง่าย ๆ ของเพื่อน ๆ จะกลายเป็นเมนูพิเศษระดับพรีเมี่ยมขึ้นมาเลยค่ะ - เมนูที่ปรุงแล้วมีของเสียเหลือน้อยที่สุด
รักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นอีกกระแสสำคัญของโลกในปัจจุบัน อาหารที่เรารับประทานกันส่วนใหญ่ยังคงมีการทิ้งวัตถุดิบที่ไม่ใช้อยู่เป็นจำนวนมาก เช่น หัว หาง ก้างของปลา หรือผักบางชนิด กินกันเฉพาะใบ แกนจะถูกทิ้ง สิ่งเหล่านี้หากเพื่อน ๆ หาเมนูที่เหมาะสม สามารถลดการทิ้งของเสียลงได้ เช่น บางร้านนำหัวปลา หางปลามาปรุงรส มาทำซุปเสิร์ฟให้กับลูกค้า หรือเล้งแซ่บที่ขายดิบขายดีในปัจจุบัน ครั้งหนึ่งก็เป็นของทิ้งจากเมนูอาหารที่ขายกันปกติมาก่อน เมื่อเพื่อน ๆ คิดสูตรแล้ว อย่าลืมบอกเล่าเรื่องราวความสำคัญของการลดปริมาณขยะ และประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมให้กับผู้ที่สนใจด้วยนะค่ะ - เมนูผักออร์แกนิค เน้นรักสุขภาพ
ทุกวันนี้ผู้บริโภคมีแนวโน้มเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น ถ้าเพื่อน ๆ ทำอาหารปกติอยู่ ลองหาอาหารเมนูรักสุขภาพมาเสริม เช่น อาหารมังสวิรัติ อาหารออร์แกนิค เลือกเมนูให้สอดคล้องกับมื้ออาหาร โดยอาหารเช้า ก็อาจจะเป็นยำวุ้นเส้นใส่ปาท่องโก๋ ผัดเต้าหู้สาหร่าย อาหารกลางวันอาจเป็นข้าวผัดขี้เมามังสวิรัติ ผัดโซบะ ต้มจืดไข่น้ำ อาหารเย็นอาจเป็นข้าวผัดผงกะหรี่เห็ด ยำถั่วพลู เป็นต้น เท่านี้ผู้บริโภคมาแนวไหนก็สามารถทำเสิร์ฟได้หมดค่ะ - เมนูที่บอกถึงที่มาที่ไปของสูตรและวัตถุดิบ
สอดคล้องกับการทำเรื่องราวให้อาหารมีความน่าสนใจ การบอกถึงจุดเด่นของวัตถุดิบเป็นเทรนด์ที่สำคัญ เช่น ใช้ผักจากฟาร์มไหน ขั้นตอนการปลูกทำอย่างไร ปลอดสารพิษ ฉีดสารเร่งโตหรือเปล่า ปัจจุบันมีเมนูไข่ที่คลอดจากแม่ไก่อารมณ์ดี นมวัวจากแม่วัวกินหญ้าใบเขียวสด หรือผักที่ส่งตรงจากฟาร์มผักออร์แกนิค บนเทือกเขาสูง ซึ่งอากาศเย็นตลอดทั้งปี ผักจะมีลักษณะพิเศษหาจากที่อื่นไม่ได้ เป็นต้น ลองสื่อสารรายละเอียดเหล่านี้ ทีมงานผึ้งมั่นใจว่าผู้บริโภคที่ต้องการอาหารที่มีคุณค่า จะยอมจ่ายในราคาที่สูงขึ้นอย่างแน่นอน - เมนูที่วัตถุดิบมาจากท้องถิ่น ได้ช่วยเหลือสังคม
อีกเรื่องที่อยู่ในเทรนด์ วัตถุดิบจากท้องถิ่นกับการช่วยเหลือสังคม หาความเชื่อมโยงที่เป็นจริง ไม่หลอกลวงผู้บริโภคแล้วสื่อสารให้ผู้บริโภครับรู้ว่าเงินทุกบาททุกสตางค์ที่เขาจ่าย มีส่วนในการช่วยเหลือสังคมอย่างไร สร้างประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหน รับรองว่าผู้บริโภคจะยินดียอมจ่ายค่าอาหารบวกค่าช่วยเหลือสังคมได้เลยค่ะ
ลองนำข้อแนะนำไปประยุกต์กันดูนะค่ะ จะเป็นการเลือกวัตถุดิบเพื่อปรุงอาหารทานเอง หรือปรับรายการอาหารที่ทำอยู่ มั่นใจว่าจะมีหลาย ๆ คนมาช่วยทานเพิ่มขึ้นเยอะเลยค่ะ
น้ำมันพืชตราผึ้ง ปลอดไขมันทรานส์
“ผึ้ง” กรอบอร่อยได้คุณค่า แบรนด์ของคนรุ่นใหม่
Cooking By Bee
ข้อมูลจาก amarinacademy.com
กลุ่มปาล์มธรรมชาติ
ผู้บุกเบิกสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งให้กับตลาดน้ำมันปาล์มของไทยในระดับภูมิภาค และระดับโลก ที่มุ่งมั่นยกระดับตลาดน้ำมันปาล์มในประเทศด้วยการนำนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาพัฒนากระบวนการผลิต โดยคำนึงถึงการรักษาสมดุลธรรมชาติให้กับโลก ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดและคงคุณค่าทางโภชนาการจากธรรมชาติสูงสุดให้กับลูกค้าทั้งกลุ่มธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป
HEALTH
- เรื่องต้องรู้…คาร์โบไฮเดรตชนิดดีและไม่ดี
- อาหารสุขภาพผิว
- อาหารแนวย้อนยุคแบบผึ้ง
- กินอาหารก่อนออกกำลังกาย ดีหรือไม่
- อาหารช่วยผิวขาว กระจ่างใส มีสุขภาพดี
- อาหารต้านฝนที่คนภูมิต้านทานต่ำ ควรทาน
- 6 อาหารต้านหวัด ช่วงหน้าฝน
- 10 กิจกรรมแก้เบื่อช่วงโควิด
- งานอดิเรกสำหรับหน้าฝน ที่ทุกคนทำได้
- วิธีดูแลสุขภาพ เตรียมเข้าหน้าฝน
- ถ้าโควิดจบแล้ว เราจะทำอะไรดี
- 3 สร้าง 2 ใช้ ดูแลสุขภาพจิตช่วงโควิด-19
- Covid-19 ไม่ทนความร้อน! WHO แนะนำกินอาหารปรุงสุกลดความเสี่ยง
- ผ่านวิกฤตโควิด ด้วยกิจกรรมสานสัมพันธ์ในครอบครัว
- อยู่บ้านสู้โควิด ควรทำอะไรบ้าง
- ภาวะโลกร้อนกับอาหารที่กิน
- ออกกำลังกายอยู่บ้านง่าย ๆ ไม่ต้องเข้าฟิตเนส
- Keto diet เทรนด์อาหารลดคาร์บเพื่อลดหุ่น
- การล้างมือให้ถูกวิธี ช่วยลดความเสี่ยงติดไวรัสโคโรนา
- โซนการเต้นของหัวใจ กับการออกกำลังกาย
- อาการที่บอกว่า ออกกำลังกายไม่ได้ผล
- รู้แบบนี้แล้ว ออกกำลังกายดีกว่า
- อาหารต้านโรคช่วงหน้าฝน
- มุมมองโรคฮิตหน้าฝน จากแพทย์แผนไทย
- เมนูอาหารหน้าฝน คนภูมิต้านทานต่ำควรทาน
- ความแตกต่างระหว่างคาร์โบไฮเดรต ชนิดดีและไม่ดี
- ไดเอทอย่างไร เรียก “คาร์บต่ำ ไขมันสูง”
- เร่งเมตาบอลิซึมในร่างกาย… แบบง่าย ๆ
- สมุนไพร…ต้านอนุมูลอิสระ
- เทรนด์อาหาร 2019 สายกินต้องตามให้ทัน
- สุดยอดสมุนไพรจีน ที่ควรหามาทาน
- เคล็ดลับแพทย์แผนไทยโบราณ กินตามธาตุเพื่อร่างกายแข็งแรง
- วิธีเลือกซื้ออาหารริมถนนให้ปลอดภัยจากการปนเปื้อนฝุ่นพิษ
- เพราะอะไรน้ำมันปาล์มจึงเหมาะกับอาหารทอด ส่งต่อสุขภาพดีคู่ครัวยาวนานกว่า 12 ปี กับน้ำมันพืชตราผึ้ง
- ไขรหัส…ทำไมคนเราถึงปลื้มของทอดได้ง่ายกว่าอาหารประเภทอื่น
- คืนคริสมาสต์ แต่ละประเทศเขาทำอาหารอะไรกันบ้างนะ
- 5 สไตล์การจัดเลี้ยง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับปาร์ตี้
- 4 เทคนิค รีโนเวทห้องครัว แบบง่าย ๆ สบายกระเป๋า
- 7 เทรนด์อาหารมาแรงแห่งปี 2018
- ปาล์มน้ำมันประโยชน์ที่มากกว่าการผลิตน้ำมัน
- สารพัดพร็อพเก๋ ๆ จากใบปาล์ม
- มิถุนายนนี้ อย. ห้ามใช้ไขมันทรานส์
- “กรดไลโนเลอิก” กรดไขมันที่ดีต่อใจ
- “น้ำมันปาล์ม” ไม่มีคอเลสเตอรอลนะจ๊ะ
- ในน้ำมันปาล์มมีอะไรบ้าง
- “น้ำมันปาล์ม” เกิดสารโพล่าร์น้อยสุด
- “น้ำมันปาล์ม” ปลอดไขมันทรานส์
- วิธีเลือกซื้อ เลือกใช้ “น้ำมันพืช” อย่างถูกต้อง
- “น้ำมันปาล์ม” ทางเลือกเพื่อสุขภาพ
- เบาหวาน…จัดการได้
- เรื่องง่าย ๆ เรื่องของเมนูไข่
- ไอเดียเจ๋ง!! ข้าวมันไก่ลดโลกร้อนห่อใบตองแทนกล่องโฟม
- ไขน้ำมันปาล์มเป็น ไม่เป็นอันตราย
- มองแบบวิทย์ พลิกชีวิตการกินอยู่
- 10 ปลาไทยราคาบ้าน ๆ โอเมก้า 3 สูงไม่แพ้แซลมอน
- สารโพลาร์คืออะไร? ทำไมคนรักสุขภาพถึงต้องระวัง
- น้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการ หรือ Processed vegetable oil คือ
- น้ำมันปาล์มไม่มีคอเลสเตอรอล …เรื่องจริงที่ต้องรู้ไว้
- ไขมันทรานส์…ภัยร้ายซ่อนรูป
- ทำไมต้องน้ำมันปาล์มตรา “ผึ้ง”